ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

หม่อมเจ้าไตรทิพเทพสุต เทวกุล

พันตรีหม่อมเจ้าไตรทิพเทพสุต เทวกุล เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ กับหม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา (บุตรีของเจ้าพระยาสิริรัตนมนตรี (หงส์ สุจริตกุล))

ประสูติ ณ วังเดิมเชิงสะพานถ่าน (หรือเรียกโดยสามัญว่า วังสะพานถ่าน) กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นตลาดบำเพ็ญบุญในปัจจุบันนี้ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2439 เวลา 17.25 น.

ได้รับพระราชทานนาม ไตรทิพเทพสุต จากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

เมื่อเยาว์ชันษาราว 7 ขวบ ทรงเล่าเรียนอักขรวิธี พร้อมกับเจ้าน้อง 3 องค์ที่วังพระบิดา โดยมีครูผู้ชายไปสอน ปรากฏว่าทรงเป็นเด็กเรียบร้อยมาแต่ต้น

พ.ศ. 2447 และ พ.ศ. 2448 ทรงเข้าโรงเรียนราชกุมาร โดยเสด็จพระราชโอรสรุ่นเล็กในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในเวลานั้นทรงเข้าไปอยู่ในราชสำนักของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ณ ที่นี้ มีเจ้าพี่องค์หญิงชั้นผู้ใหญ่ประจำอยู่ก่อนแล้ว และได้รับพระราชกรุณาให้มีโอกาสเฝ้าแหนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าทั้ง 2 พระองค์ และเรียนรู้ขนบธรรมเนียมวังและราชประเพณีหลายประการ อันเป็นเหตุให้ เข้าเจ้าเข้านาย ได้อย่างเรียบร้อยดีในกาลต่อมา

วันที่12 มีนาคม พ.ศ. 2449 ทรงเกศากันต์ ในพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ ตามราชประเพณี (คือพิธีโกนจุกของพระบรมวงศานุวงศ์) ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง พร้อมกับหม่อมเจ้าชายหญิงอีก 12 องค์

ตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2452 และ พ.ศ. 2453 ทรงศึกษาวิชาสามัญในโรงเรียนนายร้อยชั้นปฐม จนสอบไล่ได้จะเลื่อนชั้นขึ้นไปศึกษาวิชาทหารในโรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม แต่เหตุเพราะทรงเป็นผู้ที่มีผลการศึกษาดีและประพฤติองค์เรียบร้อย จึงทรงได้รับเลือกให้ออกไปศึกษาวิชาในต่างประเทศ ณ ประเทศรัสเซีย

พ.ศ. 2454 และ พ.ศ. 2545 เมื่อเสด็จออกไปถึงประเทศรัสเซียแต่ต้นปีแรกแล้ว ได้ไปประทับที่บ้านพันเอกเฟนูลท์ ผู้ปกครองและอาจารย์ ในโรงเรียนนายร้อยทหารบกรัสเซียแห่งหนึ่ง ซึ่งเคยอบรมนักเรียนไทยชุดก่อนๆมาแล้ว เพื่อทรงเรียนภาษารัสเซียวิชาสามัญแขนงต่างๆ และขนบธรรมเนียมของชาวรัสเซีย โดยมีครูไปสอนที่บ้านนั้น

พ.ศ. 2458 ทรงศึกษาวิชาในโรงเรียนสำหรับทหารปืนใหญ่ Michel โดยทรงจบหลักสูตรอย่างย่อชุดที่ 3 เนื่องจากในขณะนั้นเป็นช่วงเวลาระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

เมื่อต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2458 หม่อมเจ้าไตรทิพเทพสุตได้เสด็จกลับจากประเทศรัสเซียมายังกรุงเทพมหานคร และทรงอยู่ในพระอุปถัมภ์ของจอมพล สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ในรัชกาลที่ 6 และมีพระกรุณาโปรดให้หม่อมเจ้าไตรทิพเทพสุต ได้ทรงพำนัก ณ วังปารุสกวัน เป็นเวลา 3 ปี 7 เดือน จนกระทั่งหม่อมเจ้าไตรทิพเทพสุตต้องทรงไปราชการ ณ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2462 ในระหว่างทรงพำนัก ณ วังปารุสกวันนั้น ทรงมีความสุขยิ่ง และสมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถก็ประทานความรู้รอบตัวต่างๆแก่หม่อมเจ้าไตรทิพเทพสุตเป็นอย่างดี และทรงรับเป็นบุตรบุญธรรมพระองค์หนึ่งด้วย ซึ่งหม่อมเจ้าไตรทิพเทพสุตได้ทรงสำนึกในพระเมตตากรุณาธิคุณเป็นอย่างมาก ทรงนับถือพระองค์ท่านเป็นบุพการี และทรงทำบุญถวายเป็นประจำและในวันทิวงคตทุกๆปีมา

ทรงรับราชการในหน้าที่พลรบ ประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2458 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2461

ทรงเริ่มเข้ารับราชการเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2458 ในตำแหน่งนักเรียนทำการนายร้อยทำหน้าที่ผู้บังคับหมวด ในกองร้อยที่ 1 โดยยังมิได้รับพระราชทานสัญญาบัตรและเงินเพิ่มพิเศษเยี่ยงนายทหารซึ่งได้ศึกษาจบบริบูรณ์ในต่างประเทศ เนื่องจากทรงจบการศึกษาจากหลักสูตรอย่างย่อสำหรับทหารปืนใหญ่เท่านั้น

ทรงรับราชการจนพระปรีชาเป็นที่ประจักษ์ ทรงรับพระราชทานยศว่าที่ร้อยตรี เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2460 ทรงรับพระราชทานเงินเพิ่มค่าวิชาเดือนละ 100 บาทเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 และทรงได้รับพระราชทานสัญญาบัตรยศร้อยตรี เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2461 พร้อมกับเลื่อนเงินเดือนข้ามชั้นไปยังอัตราร้อยตรีชั้น 1อีกด้วย

ทรงรับราชการเป็นนายทหารคนสนิทของผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2460 จนถึงสิ้นเดือนเมษายน พ.ศ. 2461 รวมทรงรับราชการในกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์นาน 2 ปี 3 เดือนครึ่ง

ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2461 โปรดเกล้าฯไปปฏิบัติราชการในหน้าที่ผู้ช่วยรบ ในกรมช่างแสงทหารบก เป็นเวลานาน 1 ปี 3 เดือน

เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2462 หม่อมเจ้าไตรทิพเทพสุต ทรงเป็นกรรมการผู้หนึ่งในคณะไปราชการ ณ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อดูการสร้างและตรวจรับปืนใหญ่สนาม ซึ่งกองทัพบกได้สั่งซื้อจากประเทศญี่ปุ่น โดยมี พลตรีพระยาอินทรวิชิต (รัตน อาวุธ) เป็นหัวหน้าคณะ เป็นเวลานาน 3 ปี 5 เดือน และยังทรงได้มีโอกาสศึกษากิจการทหารในประเทศนี้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาอันเกี่ยวด้วยราชการของกรมช่างแสงทหารบก

ณ ประเทศญี่ปุ่น ทรงได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นร้อยโทเมื่อต้น พ.ศ. 2463 และทรงได้เลื่อนชั้นเงินเดือนทุกปี

ครั้นเมื่อทรงกลับมายังกรุงเทพฯเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2465แล้ว ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2465 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย ต่อพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งถือเป็นบำเหน็จความชอบพิเศษ เนื่องจากตามระเบียบการพระราชทานในสมัยนั้นกำหนดไว้ว่า ตามปรกติสำหรับพระราชทานแก่นายทหารยศชั้นพันโทเท่านั้น

ทรงรับราชการต่อในกรมช่างแสงทหารบกตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2465 จนกระทั่งวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เป็นระบอบประชาธิปไตย รวมเวลานาน 9 ปี 7 เดือน

แรกทรงมีตำแหน่งสำรองราชการ แล้วเป็นตำแหน่งประจำกรม ต่อมาทรงได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกที่ 5 (การปืนเล็กปืนกล) เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2472

รับพระราชทานยศร้อยเอก เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2467 และยศพันตรี เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2472 พร้อมทรงรับเงินเดือนอัตราพันตรีชั้น 1

ในที่สุดระหว่างห้วงการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศ ทรงถูกปลดเป็นนายทหารกองหนุนเบี้ยหวัด เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2475 เมื่อมีชันษาเพียง 36 ปีเศษ (หลังจากทรงถูกกักบริเวณพร้อมกับเชื้อพระวงศ์ เจ้านายและนายทหารอื่นๆ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และทรงไม่สมัครใจรับราชการทหารอีกต่อไป)

เมื่อทรงพ้นหน้าที่ราชการประจำแล้ว หม่อมเจ้าไตรทิพเทพสุต ทรงออกไปตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร (บริเวณศูนย์ราชการในปัจจุบันนี้) กับหม่อมมารดา เพื่อช่วยท่านประกอบอาชีพปลูกและค้ายางพารา มันสำปะหลัง กาแฟ แตงโม และอื่นๆ เมื่อหม่อมมารดาถึงแก่อนิจกรรมแล้ว ยังทรงประกอบกิจการดังกล่าวเพื่อประโยชน์ร่วมกันของเจ้าพี่เจ้าน้องบางองค์ จนถึง พ.ศ. 2488 เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงแล้ว จึงได้กลับมาประทับในกรุงเทพฯ โดยยังทรงอำนวยการกิจการดังกล่าว เพียงแต่ได้ทรงมอบหมายให้ผู้ที่ไว้วางใจได้จัดทำต่อไป

ต่อมาเมื่อต้น พ.ศ. 2491 ทรงทำงานในสำนักจัดการผลประโยชน์ของสมเด็จฯวังปทุมวัน(หรือคือสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ซึ่งทรงประทับ ณ พระตำหนักวังสระปทุม) เพื่อฉลองพระเดชพระคุณในสมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ จนกระทั่งเมื่อพระองค์ท่านเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2498แล้ว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ทรงทำงานในสำนักงานจัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ (ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช , สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์) เพื่อให้ทรงช่วยงานหม่อมเจ้าอัจฉราฉวี เทวกุล จนกระทั่งสิ้นชีพิตักษัย รวมระยะเวลาที่ทรงทำงานในสำนักงานนี้ทั้งสิ้น 14 ปี 5 เดือนเศษ

ต่อมาเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้หม่อมเจ้าไตรทิพเทพสุต เษกสมรสกับหม่อมเจ้าบันดาลสวัสดี ดิศกุล ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง และต่อมาหม่อมเจ้าบันดาลสวัสดีได้สิ้นชีพิตักษัย เมื่อปี พ.ศ. 2469

สำหรับที่ประทับนั้น เมื่อแรกที่วังเทวะเวสม์สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2461 นั้น ทรงย้ายไปประทับกับพระบิดา สมเด็จฯกรมพระยาเทววงศวโรปการ หม่อมมารดา ลูกๆและหลานๆ จนกระทั่งเษกสมรสจึงย้ายไปวังวรดิศของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทรงย้ายไปที่จังหวัดชุมพรดังกล่าวข้างต้น และเมื่อทรงย้ายกับกรุงเทพฯ จะประทับที่วังเทวะเวสม์

ต่อมาเมื่อรัฐบาลขอซื้อวังเทวะเวสม์คืนจากราชสกุลเทวกุล ทรงสร้างวังที่ถนนสุขุมวิท ซอย 24 และประทับที่วังนี้มาตลอดจนสิ้นชีพิตักษัย

หม่อมเจ้าไตรทิพเทพสุต ได้ทรงทำงานมาตลอดอายุขัยและทรงมีพลานามัยดีมาตลอด จนกระทั่งชันษาล่วง 60 ปี จึงมีเหตุให้แพทย์ต้องทำการผ่าตัดถึง 2 คราว คือเป็นต้อกระจกที่เนตรทั้ง 2 ข้าง

หลังผ่าตัดครั้งหลังเมื่อ พ.ศ. 2504 แม้วรกายจะซูบผอมลง ก็มิได้ประชวรอย่างที่เรียกกันว่า"ล้มหมอนนอนเสื่อ" ยังได้ทรงปฏิบัติกิจการในหน้าที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์ฯ ตลอดมาด้วยดี

จนถึงปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2505 จึงเริ่มประชวร และเข้ารักษาองค์ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรงพยาบาลศิริราชตามลำดับ แพทย์ลงความเห็นว่าประชวรด้วยโรคตับแข็ง ทรงรับการรักษาอยู่ 1 เดือนเศษ กำลังกายทรุดลงมาก และสิ้นชีพิตักษัยด้วยอาการอันสงบเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2505 เวลา 7 นาฬิกาเศษ

บ่ายวันเดียวกันนั้น ณ ศาลามรุพงศ์ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร ได้รับพระราชทานน้ำอาบศพและหีบทองทึบมีเครื่องประกอบเกียรติยศตามฐานันดรศักดิ์ และตั้งศพไว้ ณ ที่นั้นเพื่อประกอบการกุศล

ในงานออกเมรุ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานโกศราชวงศ์ ประกอบศพหม่อมเจ้าไตรทิพเทพสุตเพื่อเป็นเกียรติยศเพิ่มขึ้น ทั้งโปรดเกล้าฯให้สำนักพระราชวังจัดการเป็นงานหลวงทุกประการ และได้โปรดเกล้าฯให้ตีพิมพ์หนังสือชุมนุมพระบรมราชาธิบาย ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวม 2 หมวด เพื่อพระราชทานเป็นของชำร่วยในงานนี้ด้วย

อนึ่ง สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้ทรงพระกรุณา ประทานพระอนุเคราะห์แก่หม่อมเจ้าไตรทิพเทพสุต นับตั้งแต่ทรงเริ่มรักษาองค์ที่โรงพยาบาลจนถึงวาระชีพิตักษัย และทั้งตลอดงานตั้งศพด้วย

ครั้นถึงวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2505 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระราชอุตสาหะเสด็จพระราชดำเนินประทับพลับพลาอิสสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร ทรงทอดผ้าสดับปกรณ์ แล้วเสด็จฯขึ้นสู่เมรุพระทานเพลิงพระศพ


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301